สร้าง mobile app dictionary อย่างง่าย ด้วย ionicframework ตอนที่ 6
เขียนเมื่อ 9 ปีก่อน โดย Ninenik Narkdeedictionay mobile app ionic
คำสั่ง การ กำหนด รูปแบบ ตัวอย่าง เทคนิค ลูกเล่น การประยุกต์ การใช้งาน เกี่ยวกับ dictionay mobile app ionic
ไปที่
Copy
มาลองสร้าง dictionary ไว้ใช้เอง ด้วย ionicframework นี้
เราจะใช้งาน dict longdo เขามี api อย่างง่ายให้แล้ว แต่คงต้อง
เอามาปรับให้เข้ากับ angularjs อีกนิดหน่อย
อธิบายหลักการทำงาน พอเข้าใจกันก่อน
เราจะมีหน้า app สำหรับพิมพ์คำค้นหา โดยกำหนดว่า
จะเริ่มค้นหาคำที่พิมพ์เมื่อ มีความยาวคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป
โดยส่งค่าคำค้นไปเรียกไฟล์ ที่เราทำการไปดึงค่าจาก longdo dict
แล้วแปลงเป็น json object อีกที
สิ่งที่จะได้รู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับการใช้งาน angularjs directive และ service เพิ่มเติม
ได้แก่ (บางรายการมีในเนื้อหา การใช้งาน angularjs ดูเพิ่มในหมวด angularjs ได้)
ng-keyup เมื่อกดป่ม แล้วปล่อย สำหรับแป้นพิมพ์
ng-keydown เมื่อกดปุ่ม ขณะกดยังไม่ปล่อย สำหรับแป้นพิมพ์
ng-click เมื่อคลิก ถ้ามือถือก็คือ เมื่อ กดที่ รายการใดๆ
ng-show ซ่อนหรือแสดงเนื้อหาหรือข้อมูลหรือส่วนที่กำหนด
ng-bind-html แปลงค่าข้อมูลที่ได้รับแสดงเป็นแบบ html
service ได้แก่
$http สำหรับส่งค่าเพื่อเรียกใช้ข้อมูล คล้าย ajax
$timeout สำหรับตั้งเวลา คล้าย setTImeout ใน javascript
โครงสร้างไฟล์
index.html ไฟล์หลัก
app.js ไฟล์ javascript
get_dict.php ไฟล์ php สำหรับเรียกใช้และแปลงข้อมูลเป็น json object
tpl\mydict.html ไฟล์ template ในโฟลเดอร์ tpl แสดงหน้าฟอร์มค้นหา
1. โค้ดไฟล์ index.html
ไฟล์นี้จะเป็นไฟล์ธรรมดา เราจะใช้งาน navigation โดยใช้ ion-nav-view
เนื้อหาเกี่ยวกับส่วนนี้ มีในบทความก่อนหน้าไม่ขอกล่าวถึง
<!DOCTYPE html> <html ng-app="myDictionary"> <head> <meta charset="utf-8" /> <meta name="format-detection" content="telephone=no" /> <meta name="msapplication-tap-highlight" content="no" /> <meta name="viewport" content="initial-scale=1, maximum-scale=1, user-scalable=no, width=device-width"> <link href="css/ionic.css" rel="stylesheet"> <script type="text/javascript" src="js/ionic.bundle.min.js"></script> <script type="text/javascript" src="app.js"></script> <style type="text/css"> table,table tr td{border: 1px solid #E2E2E2;padding:5px;} </style> <title>My Dictionary</title> </head> <body ng-controller="myIonicHome"> <ion-nav-bar class="bar bar-header bar-balanced"> </ion-nav-bar> <ion-nav-view animation="slide-in-up"> </ion-nav-view> </body> </html>
สังเกตว่าจะมีการใส่ css style เข้ามาใน header
<style type="text/css"> table,table tr td{border: 1px solid #E2E2E2;padding:5px;} </style>
ที่ต้องเพิ่มเข้ามา เนื่องจาก ค่าที่ได้รับจาก การค้นหาด้วย longdo dict จะมี
การใช้งานตาราง การกำหนดตรงนี้ เพื่อให้มีผลกับการแสดง ตารางให้สวยงามเท่านั้น
2. ไฟล์ mydict.html
ไฟล์ template นี้จะถูกเรียกใช้งานทันที ที่เราเปิด app เข้ามา เนื่องจากเรามีการ
กำหนดการใช้งาน ion-nav-view และมีการตั้งค่าใน app.js
<ion-view title="Dictionary"> <div class="bar bar-subheader item-input-inset"> <label class="item-input-wrapper"> <i class="icon ion-ios7-search placeholder-icon"></i> <input type="search" ng-model="keyword" ng-keydown="setkeyword()" ng-keyup="showMydict(keyword,event=$event)" placeholder="Search"> </label> <button ng-click="keyword='';dict_result='พิมพ์คำศัพท์ที่ต้องการค้นหา';showloading=false;" class="button button-clear"> Cancel </button> </div> <ion-content class="scroll-content ionic-scroll has-subheader"> <div class="list card"> <button ng-show="showloading" class="button button-icon button-block"> <i class="icon ion-loading-c"></i> Loading... </button> <div ng-show="!showloading" class="item item-text-wrap" ng-bind-html="dict_result"> </div> </div> </ion-content> </ion-view>
สังเกต บรรทัดที่ 2 กับ 11
ปกติ เราจะมีแค่ header ด้านบน แต่กรณีนี้ เราจะมี subheader
css class ชื่อ bar-subheader หมายถึง ส่วนที่แสดงถัดต่อลงมาจาก header
ดังนั้นความสัมพันธ์ กับ บรรทัดที่ 11 ส่วนของ เนื้อหา จะต้องขยับลงมาอีก
จึงมีการใช้งาน css class ชื่อ has-subheader ให้เนื้อหาขยับลงมาให้เพมาะสม
มาดูส่วนของช่องค้นหา
<label class="item-input-wrapper"> <i class="icon ion-ios7-search placeholder-icon"></i> <input type="search" ng-model="keyword" ng-keydown="setkeyword()" ng-keyup="showMydict(keyword,event=$event)" placeholder="Search"> </label>
ng-model="keyword"
มีการเก็บค่าของช่องค้นหาไว้ในตัวแปร keyword ด้วย ng-model
ng-keyup="showMydict(keyword,event=$event)"
เรียกใช้งานฟังก์ชั่น showMydict() เมื่อมีการกรอกข้อมูล กรณีกดแป้นพิมพ์ และปล่อย
แล้ว โดยทำการส่งค่า keyword เข้าไปในฟังก์ชั่น พร้อมกับ ตัวแปร event ของแป้นพิมพ์
โดยตัวแปร event ของแป้นพิมพ์นี้ เราจะเอาไปเช็คการกดปุ่ม บางปุ่ม โดยใช้งาน
event.keyCode เป็นเงื่อนไขว่า ถ้ากดปุ่มที่มีรหัสนี้ ทำงานหรือไม่ เป็นต้น
ปุ่ม cancel
<button ng-click="keyword='';dict_result='พิมพ์คำศัพท์ที่ต้องการค้นหา';showloading=false;" class="button button-clear"> Cancel </button>
อันนี้ไม่มีอะไร มีการใช้การ ng-click เมื่อกดแล้ว ให้ไปกำหนดค่า เช่น
keyword='' ให้ค่า keyword เป็นค่าว่าง
dict_result='พิมพ์คำศัพท์ที่ต้องการค้นหา' ให้ค่าในส่วนเนื้อหา ผลลัพธ์เป็นข้อความเริ่มต้น
showloading=false ให้ค่าสำหรับการแสดง ข้อควม loading เป็น false คือ ไม่แสดง
ข้อความ loading
<button ng-show="showloading" class="button button-icon button-block"> <i class="icon ion-loading-c"></i> Loading... </button>
ในที่นี้จะใช้ปุ่ม เป็นข้อความ loading มีการกำหนดการแสดง ตามตัวแปร showloading
ขึ้นกับว่า ถ้าเป็น true ก็จะแสดง ถ้าเป็น false ก็ไม่แสดง
ng-show="showloading"
ส่วนสุดท้ายในไฟล์ template
ส่วนแสดงเนื้อหา และรายละเอียดผลลัพธ์ทีได้
<div ng-show="!showloading" class="item item-text-wrap" ng-bind-html="dict_result"> </div>
มีการกำหนดให้แสดง ด้วย ng-show แต่ให้ใช้ค่า เป็นตรงข้าม กับตัว loading
!showloading คือ ถ้าตัว loading แสดง เนื้อหาจะไม่แสดง เป็นต้น
ส่วนของการแสดงผลลัพธ์นี้ มีการใช้งาน ng-bind-html ใช้สำหรับแสดง
เนือหาที่ได้ในรุปแบบ html
ng-bind-html="dict_result" แสดงค่าจากตัวแปร dict_result ในรูปแบบ html
3. ไฟล์ app.js
คำอธิบายแสดงในโค้ด
angular.module("myDictionary", ["ionic"]) // สร้าง module .config(function ($stateProvider, $urlRouterProvider) { // ตั้งค่า $urlRouterProvider $stateProvider .state('intro', { // กำหนด ชื่อ state url: '/', // เข้ามาหนักแรก templateUrl: 'tpl/mydict.html', // ให้แรียกใช้ ไฟล์ template mydict.html controller: 'welcomeCtrl' // กำหนด ชื่อ controller }) $urlRouterProvider.otherwise("/"); // กรณีอื่นๆ ให้ไปที่ url เท่ากับ / }) // กำหนดการใช้งานใน welcomeCtrl controller เรียกใช้ $http และ $timeout .controller("welcomeCtrl",function($scope,$http,$timeout){ var timeoutID=null; // ค่า id สำรหับกำหนด timeout ใน angularjs เรียกว่า promise $scope.dict_result="พิมพ์คำศัพท์ที่ต้องการค้นหา"; //กำหนดค่าเริ่มต้นของผลลัพธ์ $scope.showloading=false; // ค่าเริ่มต้นการแสดงของ loading // ฟังก์ชั่น แสดงข้อมูลการแปล รับค่า keyword และ event ของ แป้นพิมพ์เข้ามาด้วย $scope.showMydict = function(keyword,event){ // ถ้าความยาวของข้อความมากกว่า 2 และ ไม่การกดปุ่มลบ if(keyword.length>2 && event.keyCode!=8){ // 8 เป้น keycode ของปุ่มลบ backspace timeoutID=$timeout(function(){ // กำหนดการทำงานแบบหน่วงเวลา $scope.showloading=true; // เมื่อเริ่มทำงานให้แสดงปุ่ม loading $scope.dict_result=""; // ให้ค่าผลลัพธ์ เป็นค่าว่าง // ใช้ service $http เรียกข้อมูล แบบ jsonp ส่งค่า keyword และ callback ไป $http.jsonp("http://localhost/ninenikc/demo/ionic/get_dict.php?callback=JSON_CALLBACK&keyword="+keyword).success(function(result){ // พอสำเร็จ ได้ผลลัพธ์ นำมาไว้ในตัวแปร ผลลัพธ์ เพื่อไปแสดง $scope.dict_result=result[0].data_result; // เนื่องจากข้อมูลเป็นชุดเดียว จึงใช้ key เท่ากับ 0 $scope.showloading=false; // ซ่อนปุ่ม loading }); },2000); // เริ่มทำงานน 2 วินาที // 1000 เท่ากับ 1 วินาที } }; // ฟังก์ชั่น ยกเลิกการหน่วงเวลาเพื่อเริ่มต้นนับใหม่ // ที่ต้องมีส่วนนี้เพื่อ ต้องการให้ป้อนคำให้เสร็จก่อน ค่อยทำงาน $scope.setkeyword = function(){ $timeout.cancel(timeoutID); // คำสั่งยกเลิกการหน่วงเวลา เพื่อเริ่มนับค่าใหม่ }; }) .controller("myIonicHome",function($scope){ });
4. ไฟล์ get_dict.php
ไฟล์ นี้ใช้สำหรับสร้าง json string แล้วส่งค่าไปใช้งาน
โดยจะทำการไปดึงข้อมูลการแปลจาก longdo dict มาแล้วมาจัดเก็บ
ในรูปแบบ array แล้วแปลงเป็น json string อีกที
<?php header("Content-type:application/json; charset=UTF-8"); header("Cache-Control: no-store, no-cache, must-revalidate"); header("Cache-Control: post-check=0, pre-check=0", false); // ตรวจสอบว่ามีการส่งคำค้นมาหรือไม่ if(isset($_GET['keyword']) && trim($_GET['keyword'])!=""){ $keyword=trim($_GET['keyword']); // นำผลลัพธ์การค้นหา จาก longdo dictionary มาไว้ในตัวแปร $data=file_get_contents("http://dict.longdo.com/mobile.php?search=".$keyword); // $data_result=strip_tags($data,"<table><td><tr><font><style><br>"); // แสดงส่วนของเนื้อหาที่จำเป็นต้องแสดง }else{ // กรณีไม่มีการส่งคำค้นมา $data_result="โปรดระบุคำที่ต้องการแปล"; // แสดงข้อความแจ้งเตือน } $json_data[]=array( "keyword"=>trim($_GET['keyword']), "data_result"=>$data_result ); $json= json_encode($json_data); if(isset($_GET['callback']) && $_GET['callback']!=""){ echo $_GET['callback']."(".$json.");"; }else{ echo $json; } exit; ?>
มาดูตัวอย่าง การทำงานของ dictionary ฝีมือเราดู สามารถใช้ phonegap แปลงเป็น
ไฟล์ สำหรับมือถือ ไว้ใช้งานได้
กด Like หรือ Share เป็นกำลังใจ ให้มีบทความใหม่ๆ เรื่อยๆ น่ะครับ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
-
14 Sep2014การใช้งาน list กับ collection repeat ใน ionicframework ตอนที่ 7 อ่าน 5,972
เนื้อหาตอนนี้ จะมาแนะนำวิธีการใช้งาน list ใน ionicframework กับรายการข้อมูล
URL สำหรับอ้างอิง
Top
Copy
ขอบคุณทุกการสนับสนุน
![]()