การ Import ไฟล์โดยใช้ File Picker ใน Flutter
เขียนเมื่อ 1 ปีก่อน โดย Ninenik Narkdeefile picker copy file import file flutter open file
คำสั่ง การ กำหนด รูปแบบ ตัวอย่าง เทคนิค ลูกเล่น การประยุกต์ การใช้งาน เกี่ยวกับ file picker copy file import file flutter open file
ไปที่
Copy




เนื้อหานี้จะมาดูเกี่ยวกับการนำไฟล์จากภายนอก มาใช้
งานใน app หรือการ import ไฟล์เข้ามาใน app เพื่อใช้งาน
เป็นการเลือกไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องหรือจากที่จัดเก็บภาย
นอกเช่น SD card ซึ่งเราอาจจะดาวน์โหลดมาไว้ หรือนำเข้ามา
จากวิธีทางอื่น เนื้อหาตอนนี้ใช้โค้ดต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว ทบทวน
ได้ที่บทความด้านล่าง
ประยุกต์สร้าง TextEditor อย่างง่าย ใน Flutter http://niik.in/1069
https://www.ninenik.com/content.php?arti_id=1069 via @ninenik
*เนื้อหานี้ใช้เนื้อหาต่อเนื่องจากบทความ http://niik.in/960
การ import ไฟล์จากภายนอก เราจะใช้ package ที่ชื่อว่า File Picker ซึ่งเป็นตัวที่
เรียกใช้งานรูปแบบวิธีการเรียกดูไฟล์ของระบบที่มีอยู่แล้วมาใช้อีกที โดยสามารถกำหนดให้เราสามารถ
เลือกไฟล์ทั้งแบบเลือกไฟล์เดียว หรือหลายไฟล์พร้อมกัน หรือแบบมีกำหนดชนิดของไฟล์ที่อนุญาต
ตัว package นี้ก็สามารถทำได้ สามารถดูความสามารถทั้งหมดที่หน้าเพจ package ซึ่งในที่นี้จะแนะนำ
เฉพาะส่วนที่จำเป็นเบื้องต้นเท่านั้น
การติดตั้ง File Picker
กำหนดใน package dependencies ที่ชื่อ File Picker เข้าไปในไฟล์ pubspec.yaml ดังนี้
dependencies: file_picker: ^4.2.7
จากนั้นทำการ import มาใช้งานในหน้าที่ต้องการ
import 'package:file_picker/file_picker.dart';
การทำงานของ File Picker
เมื่อเราทำการเรียกใช้งานคำสั่งเพื่อ import ไฟล์ผ่าน file picker ก็จะทำการเปิด app ของระบบที่จัดการเกี่ยว
กับไฟล์ต่างๆ ในเครื่องที่เราสามารถเลือกโฟลเดอร์หรือแหล่งข้อมูลที่จะดูข้อมูลไฟล์ ซึ่งปกติถ้าเข้าใช้งานครั้งแรก
ก็จะถามขอสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ก่อน ให้เราอนุญาต เมื่อเราเลือกไฟล์ที่ต้องการแล้ว ตัว app จัดการ
ไฟล์นั้นก็จะปิดไป เราก็จะกลับมายัง app ของเรา ไฟล์ที่ถูกเลือกจะถูก copy ไปยังโฟลเดอร์ cache/file_picker
ให้อัตโนมัติ เราก็จะได้ข้อมูลของไฟล์ที่ import สำหรับไปจัดการต่อ แต่ถ้าสมมติเราเปิด app ที่จะเลือกไฟล์แล้ว
แต่เปลี่ยนใจยกเลิกการเลือกไฟล์ app จัดการไฟล์ก็จะปิดตัวไป และส่งค่า null กลับมา เราก็สามารถกำหนด
การทำงานกรณีเป็น null ได้ตามต้องการ รูปแบบนี้คือหลักการทำงานเบื้องต้น
จะเห็นว่ารูปแบบการทำงานข้างต้นถึงจะเป็นการ import ไฟล์เข้ามาใน app แต่ก็ยังอยู้ใน cache ที่สามารถถูก
ลบออกไปตอนไหนก็ได้ ดังนั้นเราต้องกำหนดคำสั่งการทำงานต่อถ้าต้องการนำไฟล์ที่ import มา ไปไว้ในโฟลเดอร์
ของ app ซึ่งสำหรับ flutter ก็จะใช้เป็นโฟลเดอร์ app_flutter ดูรุปโครงสร้างโฟลเดอร์ในระบบ ทบทวนด้านล่าง

ในรูปตัวอย่างเราเพิ่มไอคอนสำหรับ import ไฟล์เข้ามาเป็นตัวแรก ถ้ากดที่ไอคอน ก็จะไปทำการเรียกใช้งานคำสัง
import ไฟล์ ดูตัวอย่างคำสั่ง import ไฟล์ ที่ใช้งาน file_picker เบื้องต้น
// คำสั่ง import ไฟล์ผ่าน file_picker void _importFile() async { try{ // FilePickerResult? result = await FilePicker.platform.pickFiles(); FilePickerResult? result = await FilePicker.platform.pickFiles(allowMultiple: true); if (result != null) { // File _file = File(result.files.single.path!); List<File> _file = result.paths.map((path) => File(path!)).toList(); print(_file); } else { print("User canceled the picker"); } }catch(e){ print(e); } }
ในตัวอย่างด้านบน ได้ทำการคอมเม้นท์ปิดส่วนของการเลือกทีละไฟล์ไว้ กรณีที่ใช้เป็นแบบไฟล์เดียว ตัวแปร
_file จะคืนค่าเป็นข้อมูลไฟล์เดียวมาให้ ถ้ามีการ import และเลือกแบบหลายไฟล์ได้ ก็จะคืนค่าเป็น List<File>
ซึ่งอาจจะมีหลายไฟล์หรือไฟล์เดียวก็ได้ ขึ้นกับว่าจะเลือกกี่ไฟล์ ในกรณีที่ result เป็น null หรือยกเลิกการเลือก
ไฟล์ ในตัวอย่างเราแค่ print ข้อความแจ้งเท่านั้น แต่ถ้ามีการประยุกต์อย่างอื่น ก็สามารถกำหนดคำสั่งการทำงาน
เพิ่มเติมส่วนนี้ได้
มาลองดูคำสั่งการทำงานเบื้องต้น คือเราจะเลือก 2 ไฟล์เพื่อดูผลลัพธ์

จะเห็นว่าเมื่อเลือกไฟล์เสร็จแล้วก็กลับมายังหน้า app ปกติเหมือนไม่มีอะไรขึ้น แต่พอเราเข้าไปในโฟลเดอร์ที่
ชื่อ cache / file_picker ตามตัวอย่าง ก็จะเห็นไฟล์ที่เราทำการ import เข้ามา ไฟล์ที่ตำแหน่งนี้ ถ้าแค่นำไปแสดง
ชั่วคราว เช่น นำรูปเข้ามาและแสดงใน widget โดยยังไม่มีการบันทึกไว้ในระบบ เราก็อาจจะใช้ path ใน ตำแหน่ง
cache แสดงก่อนก็ได้
มาดูตัวอย่างการกำหนดการตั้งค่าเพิ่มเติม
FilePickerResult? result = await FilePicker.platform.pickFiles( allowMultiple: true, type: FileType.custom, allowedExtensions: ['jpg', 'pdf', 'doc'], );
ผลที่ได้ก็จะแสดงเฉพาะไฟล์ที่มีนามสกุลตามที่กำหนดเท่านั้นให้เราเลือก เป็นการกรองไฟล์ที่จะ import ให้สามารถ
เลือกได้สะดวกมากขึ้น

เราสามารถดูรายละเอียดของไฟล์เพิ่มเติมได้ ด้วยคำสั่งดังนี้
if (result != null) { // File _file = File(result.files.single.path!); List<File> _file = result.paths.map((path) => File(path!)).toList(); result.files.forEach((file) { // ดูรายละเอียดข้อมูลของไฟล์ print(file.name); print(file.bytes); print(file.size); print(file.extension); print(file.path); }); // print(_file); } else { print("User canceled the picker"); }
ต่อไปเราจะประยุกต์โดยการใช้งาน คือ จากปกติ เมื่อ import เข้ามาแล้วจะอยู่ในส่วน cache เราก็จะ
ทำการ copy มาไว้ในโฟลเดอร์ app ที่กำลังใช้งาน
// คำสั่ง import ไฟล์ผ่าน file_picker void _importFile() async { try{ // FilePickerResult? result = await FilePicker.platform.pickFiles(); FilePickerResult? result = await FilePicker.platform.pickFiles(allowMultiple: true); if (result != null) { // File _file = File(result.files.single.path!); List<File> _file = result.paths.map((path) => File(path!)).toList(); result.files.forEach((file) async { // วนลุป copy ไฟล์ไปยังโฟลเดอร์ที่ใช้งาน // กำหนด path ของไฟล์ใหม่ แล้วทำการ copy จาก cache ไปไว้ใน app String newPath = "${_currentFolder!.path}/${file.name}"; var cachefile = File(file.path!); // กำหนด file object var newFile = await cachefile.copy(newPath); // ข้อมูลไฟล์ print(file.name); print(file.bytes); print(file.size); print(file.extension); print(file.path); // ตัวสุดท้ายทำงานเสร็จ if(file == result.files.last){ // โหลดข้อมูลใหม่อีกครั้ง setState(() { _setPath(_currentFolder!); }); } }); } else { print("User canceled the picker"); } }catch(e){ print(e); } }
ดูตัวอย่างผลลัพธ์การทำงาน

เริ่มต้นเราเข้าไปยังโฟลเดอร์ของข้อมูล app ที่เราจะเก็บไฟล์ที่ import จากนั้นทำการเลือกไฟล์
ทั้งหมด 4 ไฟล์ หลังจากเลือกไฟล์ ไฟล์ทั้งหมดจะถูกนำไปเข้ามาใน cahce และเราทำคำสั่ง copy
มาไว้ในส่วนของโฟลเดอร์ที่เรากำลังใช้งานอยู่ รายการไฟล์ที่ import เข้ามาก็จะแสดงดังรูป
ไฟล์ home.dart
import 'dart:io'; import 'dart:convert'; import 'dart:async'; import 'package:flutter/material.dart'; import 'package:font_awesome_flutter/font_awesome_flutter.dart'; import 'package:path_provider/path_provider.dart'; import 'package:file_picker/file_picker.dart'; import '../components/sidemenu.dart'; class Home extends StatefulWidget { static const routeName = '/'; const Home({Key? key}) : super(key: key); @override State<StatefulWidget> createState() { return _HomeState(); } } class _HomeState extends State<Home> { List<FileSystemEntity?>? _folders; String _currentPath = ''; // เก็บ path ปัจจุบัน Directory? _currentFolder; // เก็บ โฟลเดอร์ที่กำลังใช้งาน // ตัวแปรเก็บ index รายการที่เลือก List<int> _selectedItems = []; // สร้างฟอร์ม key หรือ id ของฟอร์มสำหรับอ้างอิง final _formKey = GlobalKey<FormState>(); // กำหนดตัวแปรรับค่า final _textData = TextEditingController(); @override void initState() { // TODO: implement initState super.initState(); _loadFolder(); } @override void dispose() { _textData.dispose(); super.dispose(); } // เปิดโฟลเดอร์ และแสดงรายการในโฟลเดอร์ void _setPath(dir) async { _currentFolder = dir; _currentPath = dir.path; final myDir = Directory(_currentPath); try{ setState(() { _folders = myDir.listSync(recursive: false, followLinks: false); }); }catch(e){ print(e); } _selectedItems.clear(); // ล้างค่าการเลือกทั้งหมด } // คำสังลบไฟล์ void _deleteFile(path) async { final deletefile = File(path); // กำหนด file object final isExits = await deletefile.exists(); // เช็คว่ามีไฟล์หรือไม่ if(isExits){ // ถ้ามีไฟล์ try{ await deletefile.delete(); }catch(e){ print(e); } } // โหลดข้อมูลใหม่อีกครั้ง setState(() { _setPath(_currentFolder!); }); } // คำสั่งลบโฟลเดอร์ void _deleteFolder(path) async { final deleteFolder = Directory(path); // สร้าง directory object var isExits = await deleteFolder.exists(); // เช็คว่ามีแล้วหรือไม่ if(isExits){ // ถ้ามีโฟลเดอร์ try{ await deleteFolder.delete(recursive: true); }catch(e){ print(e); } } // โหลดข้อมูลใหม่อีกครั้ง setState(() { _setPath(_currentFolder!); }); } // ลบข้อมูลที่เลือกทั้งหมด void _deleteAll() async { bool _confirm; // สร้างตัวแปรรับค่า ยืนยันการลบ _confirm = await showDialog( context: context, builder: (context) { return AlertDialog( title: const Text("Confirm"), content: const Text("Are you sure you wish to delete selected item?"), actions: <Widget>[ ElevatedButton( onPressed: () => Navigator.of(context).pop(true), child: const Text("DELETE") ), ElevatedButton( onPressed: () => Navigator.of(context).pop(false), child: const Text("CANCEL"), ), ], ); }, ); if(_confirm){ // ถ้ายืนยันการลบ เป็น true try{ // วนลูป index แล้วอ้างอึงข้อมูลไฟล์ จากนั้นใช้คำสั่ง delete() แบบรองรับการลบข้อมูลด้านในถ้ามี // ในกรณีเป็นโฟลเดอร์ _selectedItems.forEach((index) async { await _folders![index]!.delete(recursive: true); }); }catch(e){ print(e); } // โหลดข้อมูลใหม่อีกครั้ง setState(() { print("wow"); _setPath(_currentFolder!); }); } } // จำลองสร้างไฟล์ใหม่ void _newFile() async { String filename = "${DateTime.now().millisecondsSinceEpoch}.txt"; String newFile = "${_currentFolder!.path}/${filename}"; final myfile = File(newFile); // กำหนด file object final isExits = await myfile.exists(); // เช็คว่ามีไฟล์หรือไม่ if(!isExits){ // ถ้ายังไม่มีไฟล์ try{ // สร้างไฟล์ text var file = await myfile.writeAsString( 'Hello World' ); print(file); }catch(e){ print(e); } } // โหลดข้อมูลใหม่อีกครั้ง setState(() { _setPath(_currentFolder!); }); } // คำสั่งจำลองการสร้างโฟลเดอร์ void _newFolder() async { String newFolder = "${_currentFolder!.path}/mydir"; final myDir = Directory(newFolder); // สร้าง directory object var isExits = await myDir.exists(); // เช็คว่ามีแล้วหรือไม่ if(!isExits){ // ถ้ายังไม่มีสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาใหม่ try{ var directory = await Directory(newFolder).create(recursive: true); print(directory); }catch(e){ print(e); } } // โหลดข้อมูลใหม่อีกครั้ง setState(() { _setPath(_currentFolder!); }); } // คำสั่ง import ไฟล์ผ่าน file_picker void _importFile() async { try{ // FilePickerResult? result = await FilePicker.platform.pickFiles(); FilePickerResult? result = await FilePicker.platform.pickFiles(allowMultiple: true); if (result != null) { // File _file = File(result.files.single.path!); List<File> _file = result.paths.map((path) => File(path!)).toList(); result.files.forEach((file) async { // วนลุป copy ไฟล์ไปยังโฟลเดอร์ที่ใช้งาน // กำหนด path ของไฟล์ใหม่ แล้วทำการ copy จาก cache ไปไว้ใน app String newPath = "${_currentFolder!.path}/${file.name}"; var cachefile = File(file.path!); // กำหนด file object var newFile = await cachefile.copy(newPath); // ข้อมูลไฟล์ print(file.name); print(file.bytes); print(file.size); print(file.extension); print(file.path); // ตัวสุดท้ายทำงานเสร็จ if(file == result.files.last){ // โหลดข้อมูลใหม่อีกครั้ง setState(() { _setPath(_currentFolder!); }); } }); } else { print("User canceled the picker"); } }catch(e){ print(e); } } void _loadFolder() async { // ข้อมูลเกี่ยวกับโฟลเดอร์ Directory ต่างๆ final tempDirectory = await getTemporaryDirectory(); final appSupportDirectory = await getApplicationSupportDirectory(); final appDocumentsDirectory = await getApplicationDocumentsDirectory(); final externalDocumentsDirectory = await getExternalStorageDirectory(); final externalStorageDirectories = await getExternalStorageDirectories(type: StorageDirectory.music); final externalCacheDirectories = await getExternalCacheDirectories(); /* print(tempDirectory); print(appSupportDirectory); print(appDocumentsDirectory); print(externalDocumentsDirectory); print(externalCacheDirectories); print(externalStorageDirectories); */ // เมื่อโหลดขึ้นมา เาจะเปิดโฟลเดอร์ของ package เป้นโฟลเดอร์หลัก _currentFolder = appDocumentsDirectory.parent; _currentPath = appDocumentsDirectory.parent.path; final myDir = Directory(_currentPath); setState(() { _folders = myDir.listSync(recursive: false, followLinks: false); }); } @override Widget build(BuildContext context) { return Scaffold( appBar: AppBar( title: Text('Home'), actions: <Widget>[ // IconButton( onPressed: _importFile, // icon: FaIcon(FontAwesomeIcons.fileImport), ), IconButton( onPressed: _newFolder, // สร้างโฟลเดอร์ใหม่ icon: FaIcon(FontAwesomeIcons.folderPlus), ), IconButton( onPressed: _newFile, // สร้างไฟล์ใหม่ icon: FaIcon(FontAwesomeIcons.fileAlt), ), if(_selectedItems.isNotEmpty) IconButton( onPressed: _deleteAll, icon: FaIcon(FontAwesomeIcons.trashAlt), ), ], ), body: Column( mainAxisAlignment: MainAxisAlignment.start, children: <Widget>[ ListTile( leading: FaIcon(FontAwesomeIcons.angleLeft), title: Text('${_currentPath.replaceAll('/data/user/0/com.example.flutter_app3', '/')}'), onTap: (){ _setPath(_currentFolder!.parent); } ), Expanded( child: _folders!=null // เมื่อไม่ใช่ค่า null ? ListView.separated( // กรณีมีรายการ แสดงปกติ itemCount: _folders==null ? 0 : _folders!.length, itemBuilder: (context, index) { var isFolder = _folders![index] is Directory ? true : false; // เช็คว่าเป็นโฟลเดอร์ var isFile = _folders![index] is File ? true : false; // เช็คว่าเป็นไฟล์ if(_folders![index] != null){ // เอาเฉพาะชื่อหลัง / ตัวสุดท้าย String fileName = _folders![index]!.path.split('/').last; return Dismissible( direction: DismissDirection.horizontal, key: UniqueKey(), // dismissThresholds: const { DismissDirection.endToStart:1.0, DismissDirection.startToEnd:1.0}, confirmDismiss: (direction) async { return await showDialog( context: context, builder: (context) { return AlertDialog( title: const Text("Confirm"), content: const Text("Are you sure you wish to delete this item?"), actions: <Widget>[ ElevatedButton( onPressed: () => Navigator.of(context).pop(true), child: const Text("DELETE") ), ElevatedButton( onPressed: () => Navigator.of(context).pop(false), child: const Text("CANCEL"), ), ], ); }, ); }, onDismissed: (direction) { // ปัดไปทางขวา - บนลงล่าง if(direction == DismissDirection.startToEnd){ } // ปัดไปซ้าย - ล่างขึ้นบน if(direction == DismissDirection.endToStart){ try{ setState(() { if(isFile){ // ถ้าเป็นไฟล์ ส่ง path ไฟล์ไปลบ _deleteFile(_folders![index]!.path); } if(isFolder){ // ถ้าเป็นโฟลเดอร์ส่ง path โฟลเดอร์ไปลบ _deleteFolder(_folders![index]!.path); } // ต้องลบข้อมูลก่อน แล้วค่อยลบรายการในลิส _folders!.removeAt(index); }); }catch(e){ print(e); } } ScaffoldMessenger.of(context) .showSnackBar(SnackBar(content: Text('$index dismissed'))); }, background: Container( color: Colors.green, ), secondaryBackground: Container( color: Colors.red, child: Align( alignment: Alignment.centerRight, child: Padding( padding: EdgeInsets.symmetric(horizontal: 10.0), child: FaIcon(FontAwesomeIcons.trashAlt), ) ) ), child: ListTile( selected: _selectedItems.contains(index) ? true : false, leading: isFolder ? FaIcon(FontAwesomeIcons.solidFolder) : FaIcon(FontAwesomeIcons.file), trailing: Visibility( visible: _selectedItems.contains(index) ? true : false, child: FaIcon(FontAwesomeIcons.checkCircle), ), title: Text('${fileName}'), onLongPress: (){ if(! _selectedItems.contains(index)){ setState(() { _selectedItems.add(index); }); } }, onTap: (isFolder==true) ? (){ // กรณีเป้นโฟลเดอร์ if(_selectedItems.contains(index)){ setState(() { _selectedItems.removeWhere((val) => val == index); }); }else{ if(_selectedItems.isNotEmpty){ setState(() { _selectedItems.add(index); }); }else{ _setPath(_folders![index]!); // ถ้ากด ให้ทำคำสั่งเปิดโฟลเดอร์ } } } : (){ if(_selectedItems.contains(index)){ setState(() { _selectedItems.removeWhere((val) => val == index); }); }else{ if(_selectedItems.isNotEmpty){ setState(() { _selectedItems.add(index); }); }else{ Navigator.of(context).push(_viewFile(context, _folders![index]!)); } } }, // กรณีเป็นไฟล์ ) ); }else{ return Container(); } }, separatorBuilder: (BuildContext context, int index) => const Divider(height: 1,), ) : const Center(child: Text('No items')), // กรณีไม่มีรายการ ), ], ), drawer: SideMenu(), ); } // อ่านข้อมูลจากไฟล์ Future<String>? _readFile(file) async { var _text = ''; final _file = File(file.path); // แบบ ใช้ stream Stream<String> lines = _file.openRead() .transform(utf8.decoder) // Decode bytes to UTF-8. .transform(LineSplitter()); // Convert stream to individual lines. try { // แบบ ใช้ stream await for (var line in lines) { _text += '${line}\n'; } // แบบ ไม่ใช้ stream // _text = await _file.readAsString(); print('File is now closed.'); } catch (e) { print(e); } setState(() { _textData.value = TextEditingValue(text: _text); }); return _text; } // บันทึกข้อมูลข้อความลงไฟล์ Future<File?> _saveFile(file, str) async { File? _file = File(file.path); try{ // แบบ ใช้ stream var sink = _file.openWrite(); sink.write(str); sink.close(); // แบบ ไม่ใช้ stream // await _file.writeAsString(str); }catch(e){ print(e); } return _file; } // สร้างฟังก์ชั่น ที่คืนค่าเป็น route ของ object ฟังก์ชั่นนี้ มี context และ product เป็น parameter Route<Object?> _viewFile(BuildContext context, FileSystemEntity file) { return DialogRoute<void>( context: context, builder: (context) { return Dismissible( // คืนค่าเป็น dismissible widget direction: DismissDirection.vertical, // เมื่อปัดลงในแนวตั้ง key: const Key('key'), // ต้องกำหนด key ใช้ค่าตามนี้ได้เลย onDismissed: (_) => Navigator.of(context).pop(), // ปัดลงเพื่อปิด child: Scaffold( appBar: AppBar( leading: IconButton( onPressed: (){ Navigator.of(context).pop(); }, icon: FaIcon(FontAwesomeIcons.times, color: Colors.black,), ), elevation: 0.0, actions: <Widget>[ // IconButton( onPressed: () async { FocusScope.of(context).unfocus(); // ยกเลิดโฟกัส ให้แป้นพิมพ์ซ่อนไป await _saveFile(file, _textData.text); // เขียนข้อมูลที่กรอกใหม่ลงไฟล์ // จำลองแสดงแจ้งเมื่อบันทึกสำเร็จ ScaffoldMessenger.of(context) .showSnackBar(SnackBar(content: Text('Save data successful'))); }, // สร้างโฟลเดอร์ใหม่ icon: FaIcon(FontAwesomeIcons.solidSave, color: Colors.black,), ), ], ), body: FutureBuilder<String?>( future: _readFile(file), // ข้อมูล future builder: (context, snapshot) { // สร้าง widget เมื่อได้ค่า snapshot ข้อมูลสุดท้าย if (snapshot.hasData) { // ถ้าได้ค่าข้อมูลสุดท้าย return Form( // ใช้งานฟอร์ม key: _formKey, // กำหนด key child: Container( child: SingleChildScrollView( child: Padding( padding: const EdgeInsets.all(0.0), child: Column( mainAxisAlignment: MainAxisAlignment.start, crossAxisAlignment: CrossAxisAlignment.start, children: <Widget>[ TextFormField( controller: _textData, // ใช้ข้อความจาก controller maxLines: 50, keyboardType: TextInputType.multiline, decoration: InputDecoration( border: InputBorder.none, hintText: "Enter a message", fillColor: Colors.grey[30], filled: true, ), ), ], ), ), ) ), ); } else if (snapshot.hasError) { // ถ้ามี error return Text('${snapshot.error}'); } // ค่าเริ่มต้น, แสดงตัว Loading. return const Center(child: CircularProgressIndicator()); }, ), ), ); }, ); } }
ข้อมุลที่ถูกย้ายมาอยู่ในโฟลเดอร์ app_flutter ก็จะคงอยู่จนกว่าจะทำการลบ app ออกไปหรือทำการลบ
ข้อมูลนั้นด้วยคำสั่งที่ app กำหนด
แนวทางการใช้งาน file picker ในบทความนี้ สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็น
การเลือกไฟล์จากมือถือผ่าน app เพื่ออัพโหลดขึ้นไปเก็บบน server เป็นต้น
เนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการไฟล์ใน flutter เบื้องต้นก็จะขอจบเพียงเท่านี้ รูปแบบและหน้าตาการใช้งานของ
บทความในตัวอย่างตอนหน้าก็จะใช้รูปแบบใหม่
ก่อนจบ ขอเสริม package ที่ชื่อ open_file ที่เราสามารถนำมาใช้งาน กรณีต้องการเปิดไฟล์ด้วย app ที่มี
ในเครื่อง หรือ app ที่รองรับ ด้วยคำสั่งง่ายๆ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่หน้าเพจ ของ package
กด Like หรือ Share เป็นกำลังใจ ให้มีบทความใหม่ๆ เรื่อยๆ น่ะครับ

อ่านต่อที่บทความ
-
08 Dec2021สร้าง Photo Gallery จาก API อย่างง่าย ใน Flutter อ่าน 4,749
เนื้อหานี้จะเป็นแนวทางการประยุกต์ การดึงข้อมูล API ของรุปภาพมาแสดงแบบ gal
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
-
05 Nov2021การใช้งาน Provider จัดการข้อมูล App State ใน Flutter อ่าน 10,535
เนื้อหาตอนต่อไปนี้เราจะมาดูเกี่ยวกับการใช้งาน provider จ้ดการข้อมูล app s
-
06 Nov2021จัดการข้อมูลด้วย SQL Database โดยใช้ Sqflite ใน Flutter อ่าน 9,583
เนื้อหาตอนต่อไปนี้จะมาแนะนำ การบันทึกข้อมูลไว้ใน app ในรูปแบบ SQLite data
-
08 Nov2021การใช้งาน Form และ Form Validation ใน Flutter อ่าน 11,331
เนื้อหาตอนต่อไปนี้ เราจะมาดูเกี่ยวกับการใช้งาน form ใน flutter เริ่มตั้งแ
-
10 Nov2021การจัดการข้อมูลของ Form Element อื่นๆ ใน Flutter อ่าน 3,457
เนื้อหาต่อไปนี้ จะมาดูต่อเกี่ยวกับการใช้งานฟอร์ม ต่อจาก เนื้อหาตอนที่แล้ว
-
11 Nov2021ประยุกต์ใช้งาน Form บันทึกลงฐานข้อมูล ใน Flutter อ่าน 3,353
เนื้อหานี้จะเป็นเนื้อหาประยุกต์เพิ่มเติม เล็กน้อยเกี่ยวกับการ ปรับใช้งานฟ
-
22 Nov2021ประยุกต์เก็บข้อมูลด้วย shared preferences ใน Flutter อ่าน 4,901
เนื้อหาตอนต่อไปนี้ เราจะมาประยุกต์การใช้งาน plugin ที่ใช้ สำหรับเก็บข้อมู
-
24 Nov2021ประยุกต์ระบบ Register Login ผ่าน API บน server ใน Flutter อ่าน 8,308
เนื้อหาต่อไปนี้เป็นการประยุกต์ใช้งาน ต่อเนื้อง จากเนื้อหาตอนที่แล้ว เกี่ย
-
25 Nov2021ใช้งาน Firebase Authentication จัดการระบบสมาชิกใน Flutter อ่าน 2,578
สำหรับเนื้อหานี้จะเป็นแนวทางการประยุกต์อีกรูปแบบ ของระบบสมาชิก ที่เราไม่จ
-
26 Nov2021ประยุกต์ระบบ Register Login ด้วย Firebase Auth ใน Flutter อ่าน 5,544
ต่อเนื่องจากบทความตอนที่แล้ว ที่เราได้เตรียมพร้อมและ ตั้งค่าส่วนต่างๆ สำห
-
27 Nov2021การเปลี่ยนชื่อ App ชื่อ Package และไอคอน ใน Flutter อ่าน 5,429
เนื้อหาตอนต่อไปนี้จะมาแนะนำวิธีการเปลี่ยนชื่อ app และ ไอคอนของ app
-
28 Nov2021การกำหนด Splash screen ให้กับ app ใน Flutter อ่าน 4,545
Splash screen หรือที่รู้จักใช้ชื่อ Launch screens เป็น ส่วนที่ทำงานเริ่มต
-
29 Nov2021การสร้าง Keystore และการ Build app ใน Flutter อ่าน 7,597
เนื้อหาตอนต่อไปนี้จะมาดูวิธีการสร้าง keystore สำหรับใช้ ในการ build app เ
-
03 Dec2021การใช้งาน Path Provider และการเชียนอ่าน File ใน Flutter อ่าน 5,059
เราได้รู้จักการเก็บข้อมูลแบบถาวรไว้ใน app มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน ฐา
-
04 Dec2021การใช้งาน Dismissible Widget ร่วมกับ ListView ใน Flutter อ่าน 3,486
เนื้อหานี้เรายังอยู่กับการจัดการไฟล์ และโฟลเดอร์ แต่จะมาเสริมการประยุกต์ก
-
05 Dec2021การทำ Selected Item ใน ListView เพื่อจัดการ ใน Flutter อ่าน 3,766
เนื้อหาตอนต่อไปนี้ก็เป็นการประยุกต์รายการใน ListView เป็นวิธีการที่ทำให้เ
-
06 Dec2021ประยุกต์สร้าง TextEditor อย่างง่าย ใน Flutter อ่าน 3,189
เนื้อหานี้จะมาดูต่อเกี่ยวกับการจัดการไฟล์ โดยเฉพาะ ไฟล์ text นามสกุลไฟล์
-
กำลังอ่านเนื้อหานี้อยู่07 Dec2021การ Import ไฟล์โดยใช้ File Picker ใน Flutter อ่าน 4,660
เนื้อหานี้จะมาดูเกี่ยวกับการนำไฟล์จากภายนอก มาใช้ งานใน app หรือการ impor
-
08 Dec2021สร้าง Photo Gallery จาก API อย่างง่าย ใน Flutter อ่าน 4,749
เนื้อหานี้จะเป็นแนวทางการประยุกต์ การดึงข้อมูล API ของรุปภาพมาแสดงแบบ gal
URL สำหรับอ้างอิง
Top
Copy
ขอบคุณทุกการสนับสนุน
![]()